Yolida: ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านไวรัสและหวัด

"จุลินทรีย์ชนิด ดี และ "Live & Active" ในโยเกิร์ต เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเหมือนกับเราได้รับวัคซีนธรรมชาติที่ไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อกำจัดและป้องกันเชื้อโรคที่ไม่ดีต่างๆ เช่น แบคทีเรียที่ไม่ดี ไข้หวัดจากเชื้อไวรัสหรือ ไข้หวัดใหญ่"


คุณสมบัติพิเศษของจุลินทรีย์ใน Yolida ช่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน

ในโยเกิร์ต Yolida สูตรดั้งเดิม ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ 2 สายพันธุ์ คือ Streptococcus Thermophilus และ Lactobacillus Bulgaricus ส่วนในสูตร ProBio ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติก อีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Lactobacillus acidophilus, bifidobacterium และ Lactobacillus paracasei ทั้งหมดนี้เป็นจุลินทรีย์ชนิด ”ดี” มีประโยชน์ต่อสุขภาพซึ่งมีคุณลักษณะประโยชน์ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆหรือหลายชนิดรวมอยู่ด้วยกัน สอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยต่างๆในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ระบุถึงผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์จากการได้รับจุลินทรีย์ชนิดดังกล่าวนี้

ช่วยเสริมสภาวะระบบภูมิคุ้มกัน

ถึงแม้ว่าการทำงานหรือหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันต่างๆภายในร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งหนึ่งที่ยากต่อการทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามเราเข้าใจดีว่าหน้าที่หลักของระบบภูมิคุ้มกันคือร่างกายสร้างสารคุ้มกันเรียกว่า “แอนติบอดี้ (antibodies) เพื่อที่จะสู้หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเช่น เชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย ที่ไม่ดีบางชนิด โดยทั่วไปปกติการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นสารสกัดจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะช่วยให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ช่วยต่อต้านเชื้อโรคต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายเราได้
ผลการศึกษาวิจัยของนักวิชาการ( Rizzadini et al) ศึกษาในตัวอย่างประชากรจำนวน 115 คน วัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณสมบัติของโพรไบโอติก ชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio ( บิฟิโดแบคทีเรียม และ แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ ) มีปฏิกิริยาต่อระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์ที่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ จากสรุปผลการทดลองพบว่าผู้ที่ได้รับจุลินทรีย์โพรไบโอติกเข้าไปในร่างกายจะเหมือนกับเราได้รับวัคซีนธรรมชาติที่ไม่มีผลข้างเคียงและช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายเราจะมีผลทำให้ส่งเสริมให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆตัวอย่างเช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่
ผลการศึกษาทางการแพทย์ในผู้สูงอายุ ( Wang. et al ) ได้ทดสอบตัวอย่างประชากรโดยบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกซึ่งเป็นชนิดเดียวกันและมีอยู่จำนวนมากในโยเกิร์ต Yolida ProBio ต่อเนื่องเป็นประจำจะมีผลต่อการยับยั้งเชื้อโรคชนิด เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ( helicobacter polori) ในตัวอย่างผู้ที่ติดเชื้อดังกล่าว อีกทั้งยังมีอีกงานศึกษาวิจัยที่ได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยแห่งหนึ่งโดยให้บริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกเพียงชนิดเดียวหรือมากกว่า เพื่อเชื่อมโยงไปถึงการลดลงของจำนวนนักศึกษาที่ต้องขาดเรียนในแต่ละวันเนื่องจากเป็นไข้หวัด ( Smith, et al ) รวมถึงผลของการศึกษาที่มีผลทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ในวัยเด็กลดลง ( Taipale, et al; and Rautava, et al )
จากผลของงานศึกษาต่างๆที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ได้พิสูจน์แล้วว่าการบริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิดเดียวกันกับที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Yolida ProBio เป็นส่วนประกอบและบริโภคอย่างต่อเนื่อง อาจช่วยให้ร่างกายสามารถต้านทานต่อการติดเชื้อโรคต่างๆได้โดย ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราให้ดีเพิ่มขึ้นนั่นเอง
และมีการศึกษาพบว่า โยเกิร์ตช่วยเพิ่มการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว และช่วยเพิ่มการสร้างสารแอนติบอดีบางชนิดได้ การศึกษากับอาสาสมัครทั้งคนหนุ่มและคนสูงอายุ พบว่าการรับประทานโยเกิร์ตทุกวันเป็นเวลา 1 ปี ช่วยลดอาการจากหวัดและภูมิแพ้ ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น และร้อยละ 25 เป็นหวัดน้อยลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน แนะนำให้เลือกโยเกิร์ตรสธรรมชาติชนิดไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย และมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ (Live & Active) จะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
อ้างอิง (References)

Alander M. International Dairy Journal, 2001; 11:817-825.
Bhalla A. ACCP, 2011.
Chouraqui JP et al. Journal of Pediatric Gastroenterol Nutrition, 2004; 38:288-292.
De Vrese M, et al. Journal of Dairy Research, 2011; 78:396-403.
Matsumoto et al. Intestine Microbiology Magazine, 2001; 14:97-102.
Matto J, et al. International Dairy Journal, 2006; 16:1174-1180.
Nishida, S. et al. Milk Science, 2004; 53:71-80.
Pitkala K.H. et al. Jounal of Nutrition Health and Aging, 2007; 11:305-311.
Raitikorn S. et al. Siriraj Medical Journal, 2012; 64:105-109.
Rautava S, et al. British Journal of Nutrition, 2009; 101; 1722-1726.
Rizzardini G. et al. British Journal of Nutrition, 2012; 107:876-884.
Saavedra JM, et al. Lancet1994; 344:1046-1049.
Savard, et al. International Journal of Food Microbiology, 2011; 149 (1) 50-57.
Sheu BS et al. Alimentary Pharmacology & Therapeutics, 2002; 16:1669-1675.
Smith TJ, et al, British Journal of Nutrition, 2012: 1-9.
Taipale T, et al, British Journal of Nutrition, 2011; 105:409-416.
Wang K-Y et al. American Journal of Clinical Nutrition, 2004; 80:737-741.
ไทย